ข้าวแช่ เมนูคู่ฤดูร้อน

เข้าเดือนเมษายนแล้ว สิ่งที่มากับเดือนนี้คือความร้อนระอุ จนทำให้เกิดวัฒนธรรมเพื่อคลายร้อนมากมาย เช่น เทศกาลสงกรานต์ ที่เป็นหนึ่งในเทศกาลที่ผู้คนต่างรอคอยความสนุกสนานและการสาดน้ำเย็นๆ นอกจากเทศกาลแล้วยังมีการคิดอาการการกินเพื่อช่วยในการดับร้อนหรือคลายร้อน ที่นึกขึ้นได้ก็คงจะเป็นของหวานที่ช่วยคลายร้อน และมีอาหารคาวอย่างหนึ่งที่สามารถช่วยคลายร้อนและเป็นเมนูคู่ฤดูร้อน คือ ข้าวแช่  ข้าวแช่ เป็นชื่ออาหารชนิดหนึ่ง มีข้าวสุกขัดแช่น้ำเย็น ซึ่งมักเป็นน้ำดอกไม้ แล้วกินกับเครื่องกับข้าวต่าง ๆ เช่น ลูกกะปิ พริกหยวกสอดไส้ เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน หัวหอมสอดไส้ ผักกาดเค็มผัดหวาน ปลาแห้ง และเครื่องผัดหวานต่าง ๆ นิยมรับประทานในหน้าร้อน ปัจจุบันอาจใส่น้ำแข็งในข้าวแช่ด้วย  เดิมทีแล้ข้าวแช่เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวมอญ เรียกว่า เปิงด้าจก์ แปลว่า ข้าวน้ำ หรือ เปิงซังกราน แปลว่า ข้าวสงกรานต์ นิยมทำสังเวยเทวดาและถวายพระสงฆ์ในตรุษสงกรานต์ ข้าวแช่เป็นที่รู้จักมากขึ้นจากครั้นเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น เจ้าจอมเชื้อสายมอญทางเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ได้ติดตามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปถวายราชการที่พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี และได้ถ่ายทอดการทำข้าวแช่แก่บ่าวไพร่จนแพร่หลายในจังหวัดเพชรบุรีและในราชสำนัก เมื่อสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2453 แล้ว ข้าวแช่จึงได้เผยแพร่ไปนอกวังและถูกปรับปรุงเพิ่มจนกลายที่นิยม กับข้าว หรือเครื่องเคียงกินคู่ข้าวแช่ เครื่องเคียงแบบชาวมอญ ได้แก่ ลูกกะปิทอด […]

ขนมกะทิของไทย

ขนมหวานไทย จะมีความหวานนำ หรือมีความหวานจนรู้สึกในลิ้นของผู้รับประทานการทำขนมหวานไทยเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและฝึกฝน  ต้องใช้ศิลปะ วิทยาศาสตร์และความอดทน และความเป็นระเบียบ ความพิถีพิถันในการประกอบ ขนมไทยแท้ ๆ ต้องมีกลิ่นหอม หวาน มัน มีความประณีต ที่เกิดขึ้นตั้งแต่การเตรียมส่วนผสม จนกระทั่งวิธีการทำ ขนมไทยอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมและหารับประทานได้ไงคือ ขนมกะทิ ซึ่งมีส่วนผสมหลักเป็นกะทิ ที่ทั้งหวานและหอมกลมกล่อม วันนี้จะขอมาแนะนำเมนูขนมกะทิของไทย เผื่อใครอยากจะลองเอาไปทำรับประทานหรือทำขายกันเลย 1.บัวลอยไข่หวาน บัวลอยไข่หวาน เป็นขนมไทย ที่มีการปั้นแป้งเป็นลูกกลมๆ สีสันสวยน่ารับประทาน ทานคู่กับน้ำกะทิหวานมันเค็ม ให้รสชาติกลมกล่อม และมีเนื้อแป้งที่เหนียวหนึบเล็กน้อยเคี้ยวเพลิน เป็นเมนูของหวานกะทิที่ใครได้ทานก็ต้องหลงรัก 2.ขนมครองแครงน้ำกะทิ เป็นอีหนึ่งเมนูที่หลายคนสนใจอยากจะรับประทานเพราะสีสันที่สามารถปรับแต่งเป็นสีต่างๆ ทำให้มีความสวยงามอย่างมาก ทั้งยังเสิร์ฟมาพร้อมน้ำกะทิหอมๆ มันๆ อร่อยกลมกล่อมอย่างลงตัว  3.ขนมเปียกปูนกะทิสด ปกติแล้วเราจะเห็นขนมเปียกปูนที่ห่อตอง รับประทานแบบแห้งๆ แต่นอกจากทานแบบแห้งแล้วยังสามารถเพิ่มกะทิสดลงไปเพื่อความอร่อยเค็มๆ มันๆ ทานคู่กับเจ้าเปียกปูนเข้ากันแบบสุดๆ ใครที่ยังไม่เคยทานลองไปรับประทานกันได้นะ  4.ทับทิมกรอบน้ำกะทิ เมนูของหวานน้ำกะทิที่ช่วยคลายร้อนได้เป็นอย่างดี ทานคู่กับน้ำแข็งเย็นๆ ก็ยิ่งเพิ่มความหวานอร่อยชื่นใจ ตัดกับรสสัมผัสของแป้งทับทิมกรอบ ใส่ไส้แห้วที่กรุบกรอบ ก็ยิ่งสร้างความเพลิดเพลินให้กับเมนูนี้เป็นอย่างดีเลย 5.ฟักทองแกงบวด วัตถุดิบที่หาได้ง่ายและไม่มีส่วนผสมเยอะ และสามารถทำได้ง่ายอย่าง ฟักทองแกงบวด ที่มีส่วนผสมหลักแค่ […]

ขนมไทย

ในปัจจุบันมีการนำเอาขนมต่างประเทศเข้ามา ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในคาเฟ่ หรือร้านค้าต่างๆ แต่ทุกคนอาจลืมไปว่าขนมไทยเป็นขนมที่อร่อย และเป็นความดั้งเดิมของบ้านเมืองเรา แต่หายคนอาจจะคิดว่าขนมไทยของเราหากินได้ยาก อยากจะกินต้องไปหาซื้อตามรานที่ขายขนมไทยโดยเฉพาะ ซึ่งบางครั้งก็ไม่มีขายทั่วไป จึงหันไปกินขนมต่างประเทศกันเสียมากกว่า ทำให้วัฒนธรรมขนมไทยของเราเริ่มเลือนหายไป วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับขนมไทยของเราว่ามีที่มาอย่างไรและในแต่ละภาคมีอะไรบ้าง ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม สำหรับ “เข้าหนม” นั้น พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า “หนม” เพี้ยนมาจาก “ข้าวหนม” เนื่องจาก “หนม” นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมายของ”ขนม” ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า “เข้าหนม” ขนมไทย 4 […]